สุขภาพ1309

หากไม่อยากมีวันพรุ่งนี้ เราเข้าถึงความช่วยเหลือให้ จบชีวิต ได้ไหม

สุขภาพ1309

สุขภาพ บทสนทนาของมนุษย์ หลายประโยคประจำวันว่าด้วย ‘การมีชีวิต’ ปัจจุบันที่ดำรงอยู่ และความหมายของการมีลมหายใจในวันพรุ่งนี้ แต่บางครั้งบางคราว เนื้อหาพูดคุยนั้นแตกต่าง เมื่อความหมายของ ‘ความตาย’ มีน้ำหนักมากกว่าชีวิต วันพรุ่งนี้จะมีหรือไม่ อาจไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอีกต่อไป  มีเหตุผลมากมายให้ใครสักคนเลือกที่จะจบชีวิตตนเอง หลังการพิจารณาแล้วพบว่าสิ่งที่บรรจุอยู่ในชีวิตนั้นว่างเปล่า ความคิดหมกมุ่นถึงความตายสะสมรายวัน เพราะเจ็บป่วยกาย เจ็บปวดทางใจ ไม่อยากให้ความทุกข์เป็นภาระของตัวเอง และไม่อยากให้ตัวเองต้องเป็นภาระของคนรอบข้าง เมื่อก้าวย่างของความคิดเดินถึงจุดสุดท้าย คนเรามีสิทธิแค่ไหนในการหยิบยื่นความตายให้กับตนเอง  นอกจากบุคคลมีสิทธิใช้ชีวิต บุคคลยังมีสิทธิเลือกวิธีการตายดี เพื่อให้ชีวิตจบลงอย่างสงบ ยุติความทรมานบนโลกใบนี้ อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลายประเทศทั่วโลกจึงให้ความสำคัญและยอมรับสิทธิการตัดสินใจเรื่อง ‘วาระสุดท้ายของชีวิต’   ในงานวิจัยชิ้นนี้ พบทางเลือกในการยุติชีวิต 6 ทางเลือก ได้แก่

1. การุณยฆาต หมายถึง การยุติชีวิตของผู้ป่วยโดยแพทย์ตามคำร้องขอและความสมัครใจของผู้ป่วยเอง สุขภาพ

2. การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ หมายถึง การยุติชีวิตของผู้ป่วยด้วยตัวผู้ป่วยเอง โดยแพทย์ให้ความช่วยเหลือด้วยการจัดยาที่มีฤทธิ์ทำให้เสียชีวิตตามคำร้องขอและความสมัครใจของผู้ป่วย

3. การยุติชีวิตโดยปราศจากการแสดงเจตนาของผู้ป่วย หมายถึง การยุติชีวิตของผู้ป่วยโดยแพทย์ โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยแสดงเจตนารมณ์ไว้ว่าให้แพทย์กระทำการดังกล่าวได้

4. การปฏิเสธการรักษาในวาระท้ายของชีวิต หมายถึง การที่ผู้ป่วยตัดสินใจที่จะงด หรือหยุดการรับบริการทางการแพทย์ที่มีวัตถุประสงค์ในการธำรงหรือยืดชีวิตของตนเอง (withhold or withdraw life sustaining treatment)

5. การฆ่าตัวตาย

6. การดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการเร่งหรือยืดการตาย ผลลัพธ์ของการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการเสียชีวิตตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การรับการดูแลแบบประคับประคองเป็นการกระทำที่ถูกกฎหมายในทุกประเทศทั่วโลก และนับว่าเป็นรูปแบบการยุติชีวิตที่เป็นตัวเปรียบเทียบให้กับรูปแบบอื่นๆ สุขภาพ